top of page

เรื่องดีๆ ที่เราอยากให้คุณรู้

อัปเดตเมื่อ 6 มี.ค. 2563


เมจิกเทป

ทุกท่านเคยสงสัยไหมคะ ว่า เมจิกเทป หรือในชื่อตีนตุ๊กแก หรือเวลโคร ที่เป็นที่รู้จักกัน ที่เราเห็นแต่ละที่นั้น มีความแตกต่างกันหรือเปล่า เมจิกเทปที่ใช้กับรองเท้า ใช้ในอุปกรณ์นิรภัยหรือใช้กับอุปกรณ์สำนักงาน มีความต่างกันไหม แล้วต่างกันยังไง หรือ เมจิกเทปที่ผลิตแต่ละที่มีความต่างอย่างไร ทำไมบางที่ดูแพง บางที่ดูถูกกว่ามาก วันนี้โทริจะมาแนะนำวิธีการดู และการใช้งานเมจิกเทปกันค่ะ

เมจิกเทป

จากเรื่องเล่า ประวัติของเมจิกเทป ทุกท่านอาจจะพอทราบดีแล้วว่า เมจิกเทปนั้นเกิดเพื่อพัฒนาระบบการติดยึดให้ดียิ่งขึ้นโดยได้รับแรงบันดาลในมาจากธรรมชาติ ทั้งนี้ส่วนประกอบของเมจิกเทปที่สำคัญก็คือ ขน ที่อยู่บนตัวเมจิกเทปนี่เองค่ะ โดยแบ่งเป็นด้านขน และด้านหนาม ด้านขนทำหน้าที่ในการเป็นตัวฐานยึด เป็นลักษณะขุยๆเส้นใย ส่วนด้านหนาม ที่ชื่อด้านหนามก็เพราะว่าเมื่อเวลาเราจับจะรู้สึกกระด้าง และคันๆ เหมือนโดนแทง แต่จริงๆแล้วด้านหนามนี้ในทางสากลเขาจะเรียกว่า ด้านตะขอ หรือ Hook ด้วยลักษณะโครงสร้างที่เป็นตะขอ เพื่อใช้เกี่ยวเข้ากับด้านขนนั่นเอง

เมจิกเทปด้านขนด้านหนาม
รูปแบบของแต่ละด้านของเมจิกเทป

ทีนี้เข้าสู่ประเด็นที่ว่า เมจิกเทป ที่ใช้ในแต่ละอุปกรณ์ หรือที่ผลิตต่างที่กัน มีความแตกต่างกันอย่างไร เราสามารถดูคุณภาพของเมจิกเทปได้ง่ายๆว่า อันไหนเป็นเกรดอย่างไรได้บ้าง?

เมจิกเทป
เกรดต่างๆ ของเมจิกเทป

วิธีง่ายๆเลยค่ะ ส่วนสำคัญของเมจิกเทปอยู่ที่ขนใช้ไหมคะ ดังนั้นเพียงแค่เราดูที่คุณภาพของขนได้เลยค่ะ เมจิกเทปที่มีคุณภาพสูงจะมีขนด้านหนามที่เป็นระเบียบ และถี่ ส่วนด้านขนจะต้องหนาครอบคลุมทั่วแผ่น ดังนั้นที่เราพบเห็นราคาของเมจิกเทปมีหลายราคาถึงแม้จะหน้าตาคล้ายๆกัน ให้ทุกท่านลองดูที่ขนเป็นหลักก่อนเลยค่ะว่าเป็นขนคุณภาพดีตามราคาหรือไม่ เนื่องจากถ้ายิ่งมีขนมาก คุณภาพการยึดติดก็จะมากขึ้นตามกันไป โทริได้นำภาพ แต่ละเกรด(คุณภาพ) ของเมจิกเทปมาเปรียบเทียบให้ได้ลองดูตามด้านล่าง ลองสังเกตที่ความต่างของขนดูนะคะ

เมจิกเทปด้านขน
ด้านขน
เมจิกเทปด้านหนาม
ด้านหนาม

ถึงอย่างไรก็ตาม การที่อุปกรณ์ต่างๆ มีการใช้เมจิกเทปที่ขนน้อย ก็ใช่ว่าจะแปลว่าเขาเอาของถูกมาใช้เพราะต้องการเอากำไรสูงๆซะหมดนะคะ หรือว่าการที่ผลิตให้เมจิกเทปมีขนน้อยๆ มาจำหน่ายเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคอันนี้ก็ไม่จริงไปทั้งหมดนะคะ ในเมจิกเทปแต่ละเกรดก็มีการใช้งานต่างๆของมันเอง อย่างเช่นหากเราจะต้องการทำของแจกเป็นแบบซองใส่แล้วใช้ไม่กี่ครั้ง เราก็ไม่จำเป็นต้องใช้เกรดแบบดีมากถูกไหมคะ ยิ่งเกรดสูงขนยิ่งมากก็จะยิ่งติดได้แน่น และใช้ได้นานกว่า เพราะขนถี่กว่านั่นเองค่ะ ดังนั้นหากเราต้องการใช้ในอุปกรณ์ประเภทนิรภัยต้องการคุณสมบัติติดแน่น ก็ควรเลือกใช้เมจิกเทปเกรดที่ดีไว้ก่อนค่ะ

หากท่านใดมีความสนใจในเมจิกเทป ตีนตุ๊กแกหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทางโทริยินดีให้คำปรึกษาตลอด เพียงติดต่อมาหาเราได้ที่นี่ ติดต่อเรา และท่านสามารถติดตามการอัพเดทข่าวสาร และสิ่งที่น่าสนใจได้ใน facebook ของเรา ตามลิ้งค์นี้ได้เลยค่ะ Torithailand facebook

#วิธีดูตีนตุ๊กแก #คุณภาพตีนตุ๊กแก #เมจิกเทป #เวลโครเทป



เมจิกเทป หรือ เวลโครเทป หรือที่คนไทยจะคุ้นเคยกับคำว่า 'เทปตีนตุ๊กแก' ทุกชื่อเหล่านี้เกิดจากความมหัศจรรย์ของโครงสร้างที่สามารถติดกันได้อย่างเหลือเชื่อ และประโยชน์ของมันก็มีมากมาย ในปัจจุบันเมจิกเทปไม่ได้ใช้เพียงแค่งานการ์เมนท์ แต่ยังแตกออกไปทั้งในของเล่นเด็ก อุปกรณ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ไอที ทุกอย่างบนโลก จนไปถึงนอกโลกคือใช้ทำชุดและอุปกรณ์ของนักบินอวกาศเลยก็มี


"แต่คุณทราบไหมว่า เบื้องหลังของความมหัศจรรย์นี้ มีที่มาจาก ธรรมชาตินี่เอง"

ในปี ค.ศ.1941 George de Mestral (จอร์ช เดอ เมสทราล) วิศวกรไฟฟ้าชาวสวิสฯ ได้ออกไปเดินเขากับสุนัขคู่ใจ และในตอนขากลับนี้เอง เขาพบว่าบนตัวของเขากับสุนัขมีเมล็ดพืชบางอย่างติดมาเต็มไปหมด ซึ่งเมล็ดนี้ก็คือ เมล็ดเบอร์(burr) หรือที่เราเรียกพวกนี้ว่า หญ้าเจ้าชู้ ด้วยความที่พืชชนิดนี้มีลักษณะเป็นหนามแหลม มีขอห่วงเล็กๆที่ปลายทำให้มีความสามารถในเกาะติดผิวผ้าผิวขนได้ เพราะเหตุการณ์นี้เองทำให้เขาเกิดไอเดียในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์นี้ และหลังจากความพยายามศึกษากว่า 8ปี สิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่า เวลโครเทป ก็ถือกำเนิดขึ้นมา

เมล็ด burr

กว่าจะออกมาเป็น เวลโครเทป ในตอนแรกผู้คนต่างไม่เชื่อ George ไม่มีใครยอมทำตามไอเดียของเขาเลย โชคดีที่ในที่สุดมีช่างทอคนหนึ่งนั้นเชื่อเขา และลองทอชึ้นแบบเป็นตะขอเล็กๆด้วยผ้าฝ้ายโดยใช้เครื่องทอพิเศษ สิ่งประดิษฐ์นี้จึงถือกำเนิดขึ้นมาได้ในตอนนั้น แต่ถึงอย่างไร เวลโครเทปที่ทำจากผ้าฝ้ายมีอายุการใช้งานที่ต่ำ ภายหลังเขาจึงเลือกใช้ไนลอน ที่เป็นเส้นใยสังเคราะห์ มาใช้ทำให้เกิดความสมบูรณ์แบบมากขึ้ันในที่สุด และในปี ค.ศ.1955 George ก็ได้จดสิทธิบัตร เกิดเป็น 'Velcro' ขึ้นมาครั้งแรก โดยชื่อ Velcro มาจาก 'Velour' เป็นภาษาผรั่งเศษที่แปลว่าผ้ากำมะหยี่ และ 'Crochet' ที่แปลว่าห่วง

รูปแบบแรกของ Velcro

การเติบโตของ velcro

หลังจากที่ velcro ถูกสร้างขึ้น George ก็ได้ก่อตั้งบริษัท โดยใช้ชื่อผลิตภัณฑ์นี้ ค้าขายจนเริ่มมีชื่อเรื่อยๆ เวลโครเคยปรากฎในนิตยสาร TIME ในปี ค.ศ.1958 โดยถูกกล่าวว่าเป็น ซิปที่ไม่มีซิป (ที่ชื่อแปลกอาจเพราะสมัยนั้นยังไม่ค่อยมีวัสดุจำพวกนี้มากนัก) การเติบโตที่สำคัญของเวลโครเกิดขึ้นมื่อในช่วงปี ค.ศ.1960 องค์การ NASA ได้นำเวลโครไปใช้ในอุปกรณ์ของนักบินอวกาศ อพอลโล่ หลังจากนั้นก็เริ่มขยับขยายมาในอุปกรณ์โรงพยาบาล นำมาใช้ทำสายรัดวัดความดัน ต่อมานำไปใช้ในอุปกรณ์รถยนต์ ของแต่งบ้าน ร้านอาหาร เครื่องบิน เสื้อผ้า ต่างๆต่อมา

ชุดนักบินอวกาศ อพอลโล่

เวลโครถูกนำมาใช้ในวงการรองเท้าครั้งแรกโดย PUMA ในปี ค.ศ.1968 จนกระทั่งในปี ค.ศ.1980 เทรนด์ของรองเท้าเวลโครก็ดีมาก ถึงกับมีคำบอกว่าเด็กอเมริกันทุกคนน่าจะมีรองเท้าแบบนี้คนละอย่างน้อย 1คู่ที่บ้าน แต่ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนความนิยมในการใช้เวลโคร ก็ไม่น้อยลงเลย เนื่องจากมันถูกนำไปพัฒนาสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆได้ตลอดเวลา เช่น ของเล่นถุงมือเหนียวหนึบที่ใช้รับบอลได้อย่างเหนียวแน่น จนไปถึงการสร้างกีฬาแปลกๆ โดยการให้ใส่ชุดเวลโครกระโดดไปแปะตัวเองเข้ากับกำแพง


Velcro ในรูปแบบต่างๆ

อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ชื่อ Velcro ถือเป็นลิขสิทธิ์ อุตสาหกรรมของบริษัท Velcro ทางผู้ผลิตอื่นๆ จึงต้องนำชื่ออื่นมาเรียกใช้แทน เกิดเป็นคำว่า เทปตีนตุ๊กแก หรือ เมจิกเทปขึ้นมา ในปัจจุบัน อย่างของ โทริ เองก็มีผลิตและจัดจำหน่ายในชื่อของ เมจิกเทปนั่นเอง ท่านสามารถเข้าชมสินค้าต่างๆ ได้ในเว็ปไซท์ คลิก -รับชมวีดีโอ ที่มาของ เวลโครเทป จาก Velcro brand.


หากท่านใดมีความสนใจในซิปหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทางโทริยินดีให้คำปรึกษาตลอด เพียงติดต่อมาหาเราได้ที่นี่ ติดต่อเรา และท่านสามารถติดตามการอัพเดทข่าวสาร และสิ่งที่น่าสนใจได้ใน facebook ของเรา ตามลิ้งค์นี้ได้เลยค่ะ Torithailand facebook ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูล https://www.livescience.com/34572-velcro.html https://www.biography.com/people/george-de-mestral-9271201 http://content.time.com/time/nation/article/0,8599,1996883,00.html https://en.wikipedia.org https://hookandloop.com #ที่มาเวลโคร #ต้นกำเนิดเวลโคร #ประวัติเวลโคร #เมจิกเทป #เทปตีนตุ๊กแก #เวลโครเทป #โทริ #โทริไทยแลนด์ #torithailand

bottom of page