top of page

เรื่องดีๆ ที่เราอยากให้คุณรู้


เมื่อไม่นานมานี้ โทริได้มีโอกาสได้ตอบคำถามจากทางบ้านที่ส่งมาถามถึงว่า ถ้าหากเรามีซิปแต่หัวซิปชำรุด แล้วไม่ทราบว่าหัวซิปและซิปที่เรามีอยู่นั้นเป็นเบอร์อะไรกันแน่ ดังนั้นถ้าจะต้องซื้อหัวซิปมาใส่ใหม่ จะสามารถรู้ได้อย่างไรว่าควรซื้อหัวซิปเบอร์อะไรมาใช้ด้วยกัน วันนี้โทริก็เลยจะขอนำเกร็ดเทคนิคเล็กน้อยมาฝากทุกท่านกันค่ะ

ซิปหลา
มีซิป แต่จะหาหัวซิปใส่ ต้องใช้เบอร์อะไรกันนะ?

ก่อนอื่นจะขออนุญาตเกริ่นก่อนซักเล็กน้อยนะคะ ปกติซิปจะมีการใช้อยู่หลากหลายขนาด ซึ่งก็ต่างกันไปในแต่ละการใช้งาน ยิ่งการใช้งานที่ต้องการความแข็งแรง ซิปก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้น ฟันซิปมีขนาดกว้างขึ้นเพื่อรองรับแรงจากการใช้งาน ทำให้หัวซิปจึงต้องมีขนาดไม่เท่ากันตามไปด้วยค่ะ ดังนั้นจึงเป็นปัญหาว่าบางท่านมีซิปแต่ไม่ทราบว่าซิปที่มีมันเบอร์ไหนกันแน่ เอาล่ะ เราไปเริ่มดูวิธีกันเลยดีกว่าค่ะ >>อ่านเรื่องราวการทำงานของซิปเพิ่มเติมได้ที่นี่

ฟันซิป
ตัวอย่างขนาดฟันซิป เบอร์ต่างๆ

เทคนิคที่ว่านี้ไม่ยากเลยค่ะ เพียงแค่มีไม้บรรทัด หรือของที่สามารถวัดความยาวได้เพียงเท่านั้นเอง!! ลองมองหาไม้บรรทัดรอบตัวแล้วมาเริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ

วัดขนาดซิป
หยิบไม้บรรทัดขึ้นมาเลย!

วิธีวัด : ให้วัดเฉพาะขนาด ฟันซิป ทั้งสองฝั่ง ระยะที่ได้จะสามารถนำมาหาเบอร์ซิปได้คร่าวๆดังนี้ เบอร์ #3 -----> 4-5 มิลลิเมตร เบอร์ #5 -----> 6-7 มิลลิเมตร เบอร์ #8 -----> 9-10 มิลลิเมตร


แล้วหัวซิปขนาดเท่าไหร่ ดูยังไงล่ะ?

หัวซิป
กลับหลังหัวซิป ดูเลขเบอร์ได้เลย

ไม่ยากเลยค่ะ หากเป็นซิปมาตราฐานจะมีระบุไว้ด้านหลังหัวซิป เพียงดูว่าเป็นเลขเบอร์อะไร ก็สามารถรู้ได้เลยค่ะ แต่หากมองหาแล้วไม่เจอคงต้องวัดขนาดกันเอาไปก่อนนะคะ ท่านสามารถแวะ อ่านเรื่องราวการทำงานของซิปเพิ่มเติมได้ที่นี่ เป็นทริคที่ง่ายๆเลยใช่ไหมคะ :)

หากท่านใดมีความสนใจในซิปหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆทางโทริยินดีให้คำปรึกษาตลอด เพียงติดต่อมาหาเราได้ที่นี่ ติดต่อเรา และท่านสามารถติดตามการอัพเดทข่าวสาร และสิ่งที่น่าสนใจได้ใน facebook ของเรา ตามลิ้งค์นี้ได้เลยค่ะ Torithailand facebook #หาขนาดหัวซิป #ซิป #โทริ #โทริไทยแลนด์ #torithailand #ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายซิป *รูปในบทความเป็นลิขสิทธิ์ของบริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์*

อัปเดตเมื่อ 19 มิ.ย. 2562


zipper 101

สวัสดีค่ะ วันนี้โทริจะมาแนะนำคอร์ส ซิป101 กันค่ะ ซิป101ของเราก็คือ หลักวิธีการใช้ซิปให้ถูกต้องนั่นเองค่ะ! ด้วยความที่ซิปนั้นเป็นอุปกรณ์ที่ถูกสร้างขึ้นและนำไปติดตั้งลงบนเครื่องใช้ต่างๆ ที่เราใช้อยู่กันเป็นประจำทุกวัน ที่ใกล้ตัวที่สุดเลยคือเสื้อผ้า กับกระเป๋า ใช่ไหมคะ ดังนั้นการใช้งานซิปจึงเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำซ้ำๆ ใช้รูดไปมาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอายุของการใช้งานของซิปจะสั้นจะยาวบางทีการใช้งานของเราก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยค่ะ


zipper daylife
photo : www.betabrand.com/black-bike-to-work-jacket

วิธีการใช้งานที่ถูกต้อง ไม่ยากเลยค่ะ เพียงแค่ทำตามนี้ง่ายๆเลย

1.เวลารูดซิปให้ค่อยๆรูด หากไม่จำเป็น ให้หลีกเลี่ยงการรูดแบบเร็วๆแรงๆ เพราะจะทำให้ซิปสึกง่ายขึ้น ทั้งฟันซิปอาจจะผิดรูป หรือ อาจทำให้ซิปเสียหายจากการที่ซิปกินผ้าและติดขัดจนเสียหายได้ 2.ทุกครั้งก่อนที่จะรูดซิปปิดเปิด ควรใช้มือทั้งสองข้าง จับริมฟันสองข้างให้ซิปให้แนบชิดกันก่อนแล้วจึงใช้อีกมือหนึ่งค่อยรูด 3.ก่อนจะนำอุปกรณ์ที่มีซิป ไม่ว่าจะเป็นเสื้อ หรือกระเป๋า ควรที่จะรูดซิปปิดกลับกัน เพื่อป้องกันการกระทบกันของรางซิปด้วยกัน หรือกระทบกับวัสดุอื่น ป้องกันการหัก เสียหาย หรือ การผิดรูปของฟันซิป


วิธีใช้ซิป

แต่ถ้าหากเกิดปัญหา ซิปชำรุดไปแล้ว เราจะสามารถทำอย่างไรได้บ้าง?

ปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดกับซิปสามารถจำแนกได้เป็น 3 ลักษณะคือ 1.ซิปแตก – ปัญหาซิปแตกเกิดจากบกพร่องในการรวบฟันซิป สาเหตุสำคัญมาจากการที่รางซิปห่างออกจากกัน เกิดขึ้นจากการใช้งานนานๆ หรือใช้งานด้วยแรงหนักๆบ่อยๆ

วิธีแก้ไข : ให้นำคีมตัวเล็กๆ มาหนีบบริเวณหัวซิปที่มีการเผยอ ข้อควรระวังคือให้ใช้แรงน้อยๆ ค่อยๆบีบๆ จนกว่ารางซิปจะกลับมาขนานเหมือนเดิม หากใช้แรงมากเกินไป หัวซิปอาจจะเสียไปเลยได้ ทำอย่างระมัดระวังนะคะ อ่านเรื่องเล่าของโทริ : แตกได้ไง!? ทำไมซิปจึงแตก


ซิปแตก

2.ซิปติด – ปัญหาซิปติดเกิดจากการที่ฟันซิปมีประสิทธิภาพในการรูดต่ำลง ทำให้ซิปรูดแล้วติดชะงัก หรือจนไปถึงการสะดุดและกินเนื้อผ้า

วิธีการแก้ไข : ให้ทำการเพิ่มประสิทธิภาพในการรูด นั่นก็คือการทำให้ฟันซิป ‘ลื่นขึ้น’ โดยใช้สิ่งหล่อลื่นต่างๆเช่น ลิปมัน สีเทียน น้ำมันมะกอก สบู่ วาสลีน หรือง่ายที่สุดคือ ใช้ดินสอดำค่ะ เนื่องจาก แกรไฟท์ ในดินสอสามารถช่วยหล่อลื่นได้ หากไม่ได้ผลในสองรอบให้ลองใช้ตัวเลือกอื่น ข้อควรระวัง* การใช้น้ำมันบางชนิดอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสีในเนื้อผ้าได้



ซิปติด

3.ซิปไหล – การที่ซิปไหลอาจเกิดมาจาก สภาพของรางซิปภายในเปลี่ยนแปลง หลวมมากขึ้น หรือระบบล็อคของซิปมีปัญหา จึงทำให้ซิปสูญเสียความสามารถในการล็อคตัวเองและร่วงหลุดลงมาง่าย มักพบมากในเครื่องแต่งกายที่มีแรงตึงมาก เช่น กางเกง กระโปรง เป็นต้น

วิธีการแก้ไข : การแก้ไขนี้เป็นเพียงการแก้ไขเบื้องต้นเท่านั้นนะคะ โดยทำได้ดังนี้ ให้เราหาวัสดุที่จะใช้ล็อคตัวซิป เนื่องจากซิปนั้นไหลเองจึงต้องหาตัวช่วย คือห่วงพวงกุญแจค่ะ ให้เรานำมาคล้องกับป้ายซิป เราก็จะได้ซิปที่มีห่วง แล้วเราก็นำไปคล้องกับกระดุมบนกางเกง เพื่อล็อคซิปไม่ให้ไหลเองได้อย่างมั่นคง วิธีนี้ใช้ได้กับเสื้อผ้าที่มีกระดุมหรือห่วงยึดเท่านั้นนะคะ หมายเหตุ : หากคุณประสบปัญหาซิปไหล และต้องหาทางแก้อย่างโดยด่วน สามารถใช้หนังยางแทนห่วงคล้องได้ก่อนค่ะ


ซิปไหล

จบแล้วค่ะ สำหรับวิชาซิป 101 เท่านี้ทุกคนก็จะสามารถทำให้ซิปอยู่กับเราได้นานขึ้นแล้วนะคะ สำหรับวิชาเกี่ยวกับซิปแขนงอื่น สามารถติดตามอ่านได้ในเรื่องเล่าจากโทริเลยนะคะ

หากท่านใดมีความสนใจในซิปหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทางโทริยินดีให้คำปรึกษาตลอด เพียงติดต่อมาหาเราได้ที่นี่ ติดต่อเรา และท่านสามารถติดตามการอัพเดทข่าวสาร และสิ่งที่น่าสนใจได้ใน facebook ของเรา ตามลิ้งค์นี้ได้เลยค่ะ Torithailand facebook

ขอขอบคุณภาพจากคลิปวีดีโอ Baan Channel จาก Youtube #แก้ปัญหาซิป #ซิปไหล #ซิปติด #ซิปแตก #ซิป #โทร#โทริไทยแลนด์ #torithailand #ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายซิป

อัปเดตเมื่อ 16 ต.ค. 2563


ความลับซิปซ่อน

เราต่างก็เคยเห็นซิปซ่อนกันมาบ้างแล้วใช่ไหมคะ โดยส่วนมากจะเห็นได้บ่อยๆ ตามเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายของสุภาพสตรีเป็นหลัก ด้วยการที่มีความสามารถในการ 'อำพราง' ตัวเองบนเสื้อผ้าหรืองานตัดเย็บต่างๆ เมื่อมองจากภายนอกแทบจะนึกแค่ว่าเป็นรอยต่อเล็กน้อยของผืนผ้า ด้วยประการนี้จึงเป็นที่มาของชื่อที่เรารู้จักกันว่า 'ซิปซ่อน' ยังไงละคะ แต่มากกว่านั้น วันนี้โทริจะมานำเสนอความลับ หรือเรียกกันว่า เปิดโปงความลับของตัวซิปซ่อนให้ได้ชมกันค่ะ

ซิปซ่อน

ซิปซ่อน หรือในภาษาอังกฤษคือ Invisible Zipper / Conceal Zipper ได้ถูกประดิษฐ์ขึ้นในช่วงปี 1950 ซึ่งในตอนนั้นเองยังไม่ได้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายดังปัจจุบัน จุดเริ่มต้นของซิปซ่อนคือ ความพยายามที่จะหาวิธีการปิดบังรอยต่อซิป-ฟันซิป ที่ปกติจะเห็นอยู่ทุกครั้งเวลาซิปอยู่บนเสื้อผ้าหรือ สิ่งของต่างๆ ดังนั้นไอเดียที่จะมาเป็นซิปซ่อนจึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา

แล้วซิปซ่อน มีจุดไหน มีระบบใด ที่ต่างจากซิปทั่วไปบ้าง?

โทริจะขอยกซิป 'ไนลอน' มาเปรียบเทียบกับซิปซ่อนให้ดูนะคะ ที่ใช้ซิปไนลอนเปรียบเทียบเนื่องจาก ซิปไนลอนเป็นซิปที่เรียกได้ว่าเป็นซิปพื้นฐานของซิปทุกประเภท ใช้กันแพร่หลายมากที่สุด และวัสดุที่ใช้ทำยังใกล้เคียงกันกับซิปซ่อนมากที่สุดค่ะ เรามาเริ่มดูกันที่ลักษณะทั่วไปภายนอกของซิปซ่อนกันก่อนนะคะ


ซิปซ่อน

เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างซิปซ่อนกับซิปไนลอน จะเห็นได้ชัดว่ามีความแตกต่างกันดังนี้ ป้ายซิป ป้ายของซิปซ่อนส่วนใหญ่จะเป็นแบบกลมมนเล็กเนียนเรียบ แต่ของซิปทั่วไปจะมีลักษณะแบนเสียมากกว่า โดยป้ายของซิปซ่อนมักจะมาในสีเดียวกันกับผ้าซิป เพื่อให้มีความกลมกลืนกับเนื้อผ้า หัวซิป หัวซิปของซิปซ่อนจะมีรูปแบบที่ค่อนข้างตายตัว เป็นระบบ Non-Lock เนื่องจากถ้ามีระบบหัวล็อคแบบอื่นจะทำให้ขนาดของหัวซิปนั้นใหญ่ขึ้น และนำไปใช้งานได้ไม่เหมาะสม แต่สังเกตได้ว่ารูปร่างของหัวซิปจะแตกต่างจากซิปปกติทั่วไป คือมีลักษณะเป็นสันวิ่งขึ้นมา และมีห่วงคล้องป้ายซิปในแนวตั้งแทน (ดูภาพวาดประกอบได้จากด้านล่าง) ในขนาดที่เท่ากันหัวซิปซ่อนมักจะใหญ่กว่าหัวซิปไนลอนเบอร์3 เนื่องจากโครงสร้างจำเป็นต้องมีขนาดรางที่ยาวกว่า


ซิปซ่อน
ซิปซ่อน

ซิปไนลอน
ซิปไนลอน

ฟันซิป ฟันซิปของซิปซ่อนจะทำมาจากวัสดุเดียวกันเพียงแต่รูปแบบการทอติดกับเนื้อผ้าจะเป็นคนละลักษณะกัน (จะกล่าวหลังจากนี้ค่ะ) ผ้าซิป ผ้าซิปของซิปไนลอนและซิิปซ่อนจะทอจากเส้นใยโพลิเอสเตอร์เหมือนกัน แต่ผ้าซิปไนลอนจะใช้ผการทอผ้าแบบทั่วไป เน้นให้เนื้อผ้าเต็มผืนมีความหนาทนทาน แต่ในซิปซ่อนผ้าที่ใช้ในการประกอบซิปซ่อนจะถูกทอด้วยเครื่องทออีกรูปแบบหนึ่ง ที่จะให้รูปแบบผ้าที่ออกมามีความโปร่ง ยืดหยุ่นกว่า โดยหากสังเกตดีๆ รูปแบบการทอจะเป็นลักษณะ 'เปียไขว้เปีย' ยึดเข้าด้วยกัน คล้ายๆกับการถักเสื้อสเวตเตอร์ ซึ่งการทอรูปแบบนี้ส่งผลทำให้โครงสร้างของผ้ามีความอ่อนนุ่มยืดหยุดทั้งใช้ในเรื่องของโครงสร้างซิปแล้ว(จะกล่าวต่อไป) ยังรับกับการใช้งานที่อยากจะให้ซิปนั้นดูบางเรียบหายไปกับผ้าอีกด้วย


ฟันซิป

ตัวหยุดซิป ทั่วไปซิปไนลอนหรือโลหะจะใช้ลักษณะของการงับวัสดุต่างๆลงบนฟันซิปพื้นใช้เป็นตัวเบรกให้หยุด หรือยึดปิดท้าย แต่ในซิปซ่อนจะใช้โพลิเอสเตอร์ชิ้นเล็กๆติดลงไปบนเนื้อผ้า โดยโพลิเอสเตอร์จะยึดติดกับฟันซิป-เนื้อผ้าโดยกระบวนการหลอมละลายโดยคลื่นอัลตราโซนิค ส่วนตัวปิดท้ายจะใช้วิธีเดียวกันหลอมให้ฟันซิปติดกัน เป็นอันเสร็จสมบูรณ์


ปิดท้าย

แล้วซิปซ่อนมีกระบวนการพิเศษกว่าซิปทั่วไปอย่างไร?

ในเรื่องโครงสร้าง เรียกได้ว่าซิปซ่อนคือการนำรูปแบบของซิปที่มีอยู่มาประยุกต์ให้เกิดการใช้งานรูปแบบใหม่ โดยระบบของซิปซ่อนสามารถอธิบายง่ายๆได้คือ 'ซิปซ่อนเกิดจากการพลิกกลับด้านของฟันซิปจากบนลงล่าง จากซ้ายไปขวา'


ระบบซิป

กล่าวคือถ้าหากสังเกตตัวฟันซิปของซิปซ่อนจะอยู่ด้านล่างใช่ไหมคะ นั่นแหละค่ะคือการบิดฟันซิปม้วนลงไปด้านใต้ พอรูปซิปเนื้อผ้าด้านบนก็จะยึดติดกันไม่เห็นร่องรอยฟัน และอีกอย่างหนึ่งคือ เมื่อม้วนฟันซิปลงมาแล้ว ในการทอฟันซิปเข้าไปปกติเราจะให้ฟันซิปหันไปด้านนอกผ้า แต่ในซิปซ่อนเราจะกลับฝั่งมาไว้ข้างใน เมื่อมีการม้วนฟันลงไปตัวฟันนี้เองก็จะกลับมาหันประกบกันได้พอดีเหมือนลักษณะของซิปทั่วไป แต่เรียกได้ว่า 'เป็นการกลับหัวกลับหางฟันซิป' นั่นเองค่ะ


ระบบซิป

ทั้งนี้ ซิปซ่อน เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดจากการลองผิดลองถูกกันมา ตั้งแต่สมัยก่อน ซิปซ่อนก็มีลักาณะเหมือนซิปไนลอนทั่วไป แค่เป็นการกลับด้าน แต่ผ้าซิปก็ยังไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ยืดหยุ่นทนต่อการดีดตัวของฟันเวลาม้วนลง ทำให้ใช้งานได้ไม่ดี ฝืดบ้างเสียบ้าง แต่ในที่สุดเราก็ได้มีซิปซ่อนที่มีประสิทธิภาพใช้กันในปัจจุบัน ต้องขอขอบคุณคนรุ่นก่อนๆ ที่คิดค้นสิ่งประดิษฐ์ ที่ทำให้ชีวิตของเราอยู่ได้อย่างสบาย และสวยงามมากขึ้นเลยนะคะ


สนใจซิป ดูผลิตภัณฑ์ของเราเพิ่มเติมที่นี่ คลิก


หากท่านใดมีความสนใจในซิปหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทางโทริยินดีให้คำปรึกษาตลอด เพียงติดต่อมาหาเราได้ที่นี่ ติดต่อเรา และท่านสามารถติดตามการอัพเดทข่าวสาร และสิ่งที่น่าสนใจได้ใน facebook ของเรา ตามลิ้งค์นี้ได้เลยค่ะ Torithailand facebook


#ซิปซ่อน #ระบบซิปซ่อน #ความลับของซิปซ่อน #การทำงานซิปซ่อน #ซิป #โทร#โทริไทยแลนด์

bottom of page