top of page

เรื่องดีๆ ที่เราอยากให้คุณรู้

อัปเดตเมื่อ 11 ต.ค. 2562


ดีไซน์หัวซิป

ลองมองไปรอบๆตัวของเราดูสิคะ เราอาจจะพบว่า ข้าวของเครื่องใช้ที่เราใช้ในปัจจุบันมีซิปเป็นองค์ประกอบอยู่มากมาย แต่ว่าในแต่ละชนิดก็มีหัวซิป ป้ายซิปที่แตกต่างกัน หน้าตาก็ไม่เหมือนกัน แล้วทราบไหมคะว่า ทำไมหัวซิปเหล่านั้นถึงแตกต่างกัน เป็นเพราะเรื่องความสวยงาม ตามดีไซน์การออกแบบของผู้ผลิตหรือเปล่านะ หรือเป็นที่การใช้งานและการทำงานของซิป วันนี้โทริจะมาเล่าให้ทุกท่านฟังว่า หัวซิป-ป้ายซิป ที่เราใช้ๆกันอยู่ มีแนวคิดอย่างไร จากความสวยงาม หรือจากการใช้งานค่ะ

หัวซิป (slider) และ ป้ายซิป(puller) ล้วนเป็นส่วนประกอบที่ขาดไม่ได้ในซิป และสองอย่างนี้ก็อยู่ด้วยกันแบบแยกกันไม่ได้เลยเสียด้วย ในการใช้งานแต่ละแบบก็ทำให้เกิดลักษณะต่างกันไป โทรินำภาพมาให้ดูประกอบค่ะว่า ปัจจุบันเรามีแบบของหัวซิป ป้ายซิป ใช้กันแบบไหน ลักษณะใด และมีชื่อเรียกว่าอย่างไรบ้างค่ะ


รูปแบบป้ายซิป
รูปแบบต่างๆของหัวซิป-ป้ายซิป

"เรียกตามการใช้งาน"

1.แบบหัว Non-Lock : เป็นชื่อเรียกระบบหัวซิปแบบทั่วไป ที่สามารถรูดได้อิสระ ไม่มีกลไกพิเศษใช้ในอุปกรณ์กระเป๋าทั่วไป แต่ป้ายซิปสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความต้องการ


หัว Non-Lock
หัว Non-Lock

2.แบบหัว Auto-Lock : เป็นชื่อเรียกระบบหัวซิปที่มีระบบล็อคอัตโนมัติหรือ กันไหลนั่นเองค่ะ มักใช้มากในเสื้อแจ็กเก็ต และกระเป๋าที่ต้องทนต่อแรงตึงต่างๆ


หัว Auto-Lock
หัว Auto-Lock

3.แบบหัวPin-Lock : เป็นชื่อเรียกระบบหัวซิปที่มีระบบเขี้ยวสำหรับล็อค วิธีสังเกตหัวซิปประเภทนี้คือ ด้านใต้ป้ายซิปจะมีเขี้ยวติดอยู่ และต้องใช้การพับป้ายลงเท่านั้นถึงจะล็อคได้ ส่วนมากพบในระบบกางเกง


หัว Pin-Lock
หัว Pin-Lock

4.แบบหัว Doubble Pull : เป็นระบบเสริมที่ผลิตให้หัวซิปมีที่สำหรับป้ายซิปทั้งสองฝั่งเพื่อใช้ในการดึงรูปซิปได้สองด้าน พบมากในเต๊นท์

หัวซิปสองป้าย
หัวซิปสองป้าย

5.แบบหัวKey-lock : เป็นระบบที่ทำเสริมขึ้นมาให้ซิปมีระบบกุญแจล็อค แต่รูปแบบนี้ไม่ค่อยได้รับความนิยม ภายหลังจะใช้เป็นลักษณะหัว Non-lock มาทำรูคล้องแม่กุญแจแทนเสียมากกว่า

หัวแบบ Key-Lock
หัวแบบ Key-Lock

"เรียกตามรูปลักษณ์ การออกแบบ และวัสดุ" 6. Cord Pull หรือ แบบเส้นยาง : ใช้ยางยืดเส้นแทนวัสดุทั่วไป ทั้งนี้ส่วนมากจะทำให้มีความยาวที่สามารถดึงได้ง่าย และด้วยความเป็นยางทำให้ทนต่อเหงื่อต่อน้ำได้มากกว่าป้ายที่เป็นโลหะทั่วไป จึงพบได้มากในอุปกรณ์เกี่ยวกับกีฬา

แบบ Cord Pull
แบบ Cord Pull

7.Chain Pull หรือ แบบห่วงโซ่ : หัวซิปแบบนี้ลักษณะออกมาจะคล้ายคลึงกับรูปแบบพวงกุญแจ ทำให้ลบภาพความเป็นหัวซิปได้ดี

แบบ Chain Pull
แบบ Chain Pull

8.Tape Pull หรือ แบบป้ายห้อย : แบบนี้จะนิยมใช้มากในอุปกรณ์ที่เป็นแบรนด์ต่างๆ และยังสามารถเล่นรูปแบบได้มากมาย

แบบ Tape Pull
แบบ Tape Pull

9.Leather Pull หรือ ป้ายหนัง : ป้ายทีใช้มากในวงการตัดเย็บกระเป๋า โดยเฉพาะเครื่องหนังเพื่อให้มีความเข้ากัน และเอกลักษณ์เฉพาะ


แบบ Leather Pull
แบบ Leather Pull

10.Silicon Pull หรือ ป้ายซิลิคอน : ส่วนมากเราจะเห็นป้ายนี้มากตาม กระเป๋าเป้เดินทาง อุปกรณ์กีฬา เนื่องจากคุณสมบัติของมันนั้นมีน้ำหนักที่เบาและกันน้ำ ส่วนมากจะนำมาหล่อและหุ้มลงบนแกนป้ายซิปหนึ่งอีกที


แบบ Silicon Pull
แบบ Silicon Pull

จริงๆนอกจากซิปทั้ง 10 แบบนี้ ยังมีซิปอีกหลายรูปแบบมากมาย ซึ่งก็มีการคิดค้นพัฒนา ออกแบบขึ้นมาอยู่ตลอดเวลา จะเห็นได้ว่าแม้แต่ส่วนเล็กๆ ที่เป็นอุปกรณ์ เช่นซิป หากเราให้ความสำคัญมัน มันก็จะสามารถกลายมาเป็นสเน่ห์ และเอกลักษณ์ของสินค้าเราได้เลยนะคะ สำหรับท่านใดที่อยากศึกษาเรื่องหัวซิปมากขึ้น โทริขอแนะนำให้ลองแวะเข้าไปชมได้ที่ เรื่องเล่าจากโทริ การทำงานของซิป และ ส่วนประกอบของซิป ค่ะ



หากท่านใดมีความสนใจในซิปหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทางโทริยินดีให้คำปรึกษาตลอด เพียงติดต่อมาหาเราได้ที่นี่ ติดต่อเรา และท่านสามารถติดตามการอัพเดทข่าวสาร และสิ่งที่น่าสนใจได้ใน facebook ของเรา ตามลิ้งค์นี้ได้เลยค่ะ Torithailand facebook รูปภาพประกอบบางส่วนจาก pinterest


#ดีไซน์หัวซิป #หัวซิป #ป้ายซิป #ซิป #โทร#โทริไทยแลนด์ #torithailand



ซิปเกิดจาก

จากเรื่องราวที่ผ่านมา โทริเดาว่าทุกคนในน่าจะพอทราบแล้วว่ามีซิปอะไร แบบไหนบ้าง ไม่ว่าจะซิปไนลอน ซิปโลหะ ซิปพลาสติก ซิปซ่อน แต่ทุกคนเคยนึกสงสัยไหมคะว่า ก่อนจะมาเป็นซิปเส้นๆแบบที่เราเห็นกันอยู่ วัสดุดั้งเดิมที่เรานำมาใช้ผลิตนั้น คืออะไร มีหน้าตาอย่างไรกันบ้าง วันนี้โทริจะนำมาแสดงให้ดูกันค่ะ

เริ่มจากส่วนประกอบที่เราเห็นได้ชัดๆ เลยก็คือผ้าซิป ผ้าซิปที่เราเห็นเป็นเส้นใยมาทอๆกันนั้น ผลิตมาจาก ‘โพลีเอสเตอร์’ โดยที่ต้นกำเนิดของมันเกิดจากการทำปฎิกิริยาสังเคราะห์สารขึ้นจนได้ผลิตภัณฑ์เบื้องต้นคือ เม็ดโพลีเอสเตอร์ (Polyester Chips) ซึ่งสิ่งนี้จะนำไปใช้เป็นพื้นฐานของวัสดุอื่นๆ อีกมากมาย ทั้งเสื้อผ้า ยางรถยนต์ เข็มขัด ซ่อนอยู่โครงสร้างต่างๆ เพื่อให้คุณสมบัติแข็งแรงและยืดหยุ่น และนอกจากนี้โพลีเอสเตอร์ก็ยังมีหลายเกรด แล้วแต่การผลิตสำหรับนำไปใช้ เช่น โพลีเอสเตอร์เกรดขวดพลาสติก ก็จะออกแบบในรูปแบบใส เป็นต้น

เม็ดโพลีเอสเตอร์
เม็ดโพลีเอสเตอร์

เม็ดโพลีเอสเตอร์ที่เราใช้ก็จะเป็นเกรดสำหรับทำผ้า ก็จะมีการนำไปผลิตหลอมและทำออกมาเป็น เส้นใยโพลีเอสเตอร์ เป็นเส้นเล็กๆ ออกมาเป็น ‘ด้าย’ และต่อจากนั้นเราก็จะนำตัวเส้นด้ายนี้ ไปทอเป็นผ้าซิปอีกทีหนึ่ง ซึ่งซิปในแต่ละรูปแบบก็จะมีรูปแบบการทอที่ต่างกันไป ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติการใช้งานที่ต้องการ เช่นทอขัดหนาละเอียดสำหรับซิปพลาสติก ทอให้บางยืดหยุ่นสำหรับซิปซ่อน และนอกจากนี้ยังแตกต่างกันไปด้วยลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละโรงงาน อีกด้วย

ด้ายโพลีเอสเตอร์
เส้นด้ายที่ใช้ทอผ้าซิปจากโพลีเอสเตอร์

นอกจากโพลีเอสเตอร์จะนำไปใช้ทำผ้าซิปแล้ว ยังนำไปผลิตเป็น ‘ฟันซิป’ ในซิปไนลอน ซิปซ่อนอีกด้วย โพลีเอสเตอร์ที่นำไปใช้ผลิตเป็นฟันซิป จะถูกผ่านกระบวนการให้กลายเป็น ‘เส้นใยโมโนโพลีเอสเตอร์’ ( Polyester Monofilament) ที่ออกมาหน้าตาแบบที่เราเรียกว่า เส้นเอ็น นั่นเอง

โมโนโพลีเอสเตอร์
โมโนโพลีเอสเตอร์

ส่วนในซิปพลาสติก ฟันซิปที่เห็นว่าทำมาจากพลาสติกนั้นกลับไม่ใช่ โพลีเอสเตอร์ แต่เป็น ‘ดูราคอน’ (Duracon) ที่เป็นพลาสติกโพลิเมอร์อีกหนึ่งชนิดที่หน้าตาอาจจะคล้ายคลึงกัน แต่ในด้านคุณสมบัติดูราคอนจะให้ความแข็งเหนียว ทนทานมากกว่า โพลีเอสเตอร์ ที่สำคัญคือทนต่อสภาวะอากาศ อุณภมิสูงและต่ำมากกว่า นั่นคือสาเหตุที่ในประเทศแถบขั้วโลกจะใช้ซิปพลาสติกที่มีดูราคอนเป็นส่วนประกอบนี้มากกว่า (ซิปไนลอนทั่วไปจะเสียรูปจากอุณภูมิติดลบได้)


ดูราคอน
ดูราคอนนำมาทำฟันซิปพลาสติก

ส่วนซิปโลหะ วัสดุฟันก็จะทำจากโลหะตามชื่อ แต่ในด้านการผลิตฟันซิป เราจะใช้ลวดโลหะแบน ในการติดตั้งฟันซิปลงไปอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ลวดโลหะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทองเหลือง ทองแดง หรืออลูมิเนียม จะถูกรัดให้แบนเป็นม้วนยาว และนำมาเข้าเครื่องรีด-ตัด-ประกบ ลงบนผ้า ซึ่งในการตัดเราก็จะใช้ใบมีดเหล็กขึ้นรูปในการตัดฟันซิปโลหะออกมา

ลวดสังกะสี ลวดทองเหลือง
ลวดสังกะสี และ ลวดทองเหลือง

สุดท้าย ในส่วนป้ายซิป-หัวซิป วัสดุหลักส่วนมากที่ใช้ เราจะใช้สังกะสีในการทำ เนื่องจากเป็นโลหะที่มีคุณสมบัติเหมาะสม คือ หลอมและขึ้นรูปง่าย เซ็ตตัวไว และราคาไม่สูงมากเมื่อเทียบโลหะประเภทอื่นๆ ก่อนที่จะผลิตเราก็จะนำตัวสังกะสีนี้ไปหลอม และเทลงใน แม่พิมพ์ต่างๆ (Mold) เพื่อขึ้นรูปอีกทีหนึ่ง ก่อนมาเข้าเครื่องติดตั้งลงใสซิป ส่วนเรื่องผิวของโลหะต่างๆ ทั้งสีทั้งความเงา เกิดจากน้ำยาและการขัดในรูปแบบที่ต่างกันค่ะ

หัวซิป
หัวซิปที่ผ่านขั้นตอนการทำผิวแล้ว

จะเห็นได้ว่าก่อนที่จะมาเป็นซิป ที่เรานำไปใช้อีกทีในส่วนประกอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า กระเป๋าหรือ อุปกรณ์อื่นๆ ก็ยังมีส่วนที่เล็กกว่านั้นอีก นั่นก็คือวัสดุที่ใช้ผลิตซิปนั่นเอง โทริคิดว่ามันเป็นเรื่องที่มหัศจรรย์มากๆเลยนะคะ ที่มนุษย์เราสามารถคิดค้น และผลิตสิ่งต่างๆขึ้นมาเองได้ โดยกว่าจะมาเป็นของใช้ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน ทุกๆอย่างล้วนผ่านกระบวนการผลิตอย่างซับซ้อนมากมายมาก่อน พอรู้ขั้นตอนอย่างนี้แล้ว เสื้อผ้าหรือของใช้ที่เราใช้อยู่ก็ดูน่าทึ่งไปเสียหมดเลยล่ะค่ะ คิดเหมือนกันไหมคะ? โทริขอทิ้งท้ายด้วย วีดีโอคลิปจาก Youtube รายการกบนอกกะลา เรื่อง โพลีเอสเตอร์ เส้นใยที่โยงใยไม่รู้จบ มาให้ได้ชมกันนะคะ


หากท่านใดมีความสนใจในซิปหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทางโทริยินดีให้คำปรึกษาตลอด เพียงติดต่อมาหาเราได้ที่นี่ ติดต่อเรา และท่านสามารถติดตามการอัพเดทข่าวสาร และสิ่งที่น่าสนใจได้ใน facebook ของเรา ตามลิ้งค์นี้ได้เลยค่ะ Torithailand facebook #วัตถุดิบทำซิป #ก่อนมาเป็นซิป #ซิป #โทร#โทริไทยแลนด์ #torithailand

  • รูปภาพนักเขียน: TORI
    TORI
  • 2 ก.ค. 2562
  • ยาว 1 นาที

อัปเดตเมื่อ 3 มี.ค. 2563


ไนลอน โพลีเอสเตอร์

ไนลอน กับ โพลิเอสเตอร์ ล้วนเป็นประเภทของวัสดุต้นกำเนิดผลิตภัณฑ์หลายๆอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพลาสติกต่างๆ ที่เราใช้กันอยู่ปัจจุบัน ผ้าเครื่องแต่งกาย หรือไปจนถึงอุปกรณ์เล็กๆอย่างซิปเลยค่ะ วันนี้โทริจะมาเล่าให้ฟังว่าทั้งสองตัวนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร ประวัติความเป็นมา ไนลอน เป็นเส้นใยสังเคราะห์ชนิดแรกที่เกิดขึ้นบนโลก ถูกคิดค้นขึ้นโดย Wallace Carothers ในปี ค.ศ.1945 แต่ได้เป็นที่รู้จักกันทั่วไปก็ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว ซึ่งในช่วงแรกได้ถูกนำมาใช้ในการทหารเป็นหลัก เช่น ในร่มชูชีพ และ เต๊นท์ โพลีเอสเตอร์ เกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ.1940 และเริ่มเป็นที่นิยมในช่วงปี ค.ศ.1950 รูปลักษณ์และการสัมผัส ไนลอน ได้ถูกสร้างขึ้นโดยมีแนวความคิดที่จะมาทดแทนเส้นใยไหม และทำให้มีความนุ่ม เบา และมีผิวมันเงางาม อีกทางหนึ่งโพลีเอสเตอร์ถูกสร้างขึ้นให้กระด้างกว่าไนลอน ซึ่งจุดมุ่งหมายดั้งเดิมคือการทำมาใช้กับเครื่องสวมใส่ภายนอก แต่ในยุคปัจจุบันในทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสามารถผลิตให้เส้นใยโพลีเอสเตอร์นี้มีความนุ่มเทียบเท่ากับไนลอน หรือกระทั่งผ้าฝ้ายได้เลยทีเดียว ความคงทน ทั้ง ไนลอน กับ โพลีเอสเตอร์ ต่างมีความแข็งแรงและมีน้ำหนักที่เบาจากส่วนประกอบทางโครงสร้างโพลิเมอร์ แต่ความพิเศษคือ ไนลอน จะมีความแข็งแกร่งในแง่ของ ‘ความยืดหยุ่นมากกว่า’ ส่วนในด้าย โพลีเอสเตอร์จะมีความแข็งแกร่งอยู่ตัวมากกว่า เมื่อเทียบกับไนลอนองค์ประกอบการรวมตัวของโครงสร้างเส้นใย หากเมื่อมีการหลุดหรือขาดพังลง เส้นใยโพลิเมอร์จะยังอยู่ตัวได้มากกว่าไนลอน คุณสมบัติต่อน้ำ ถ้าพูดถึงเรื่องความสามารถในการแห้งตัวเร็วคงต้องยกให้โพลีเอสเตอร์ แต่อย่างไรก็ตามวัสดุทั้งสองอย่างล้วนมีธรรมชาติที่ไม่ถูกกับน้ำ นั่นหมายความว่าทั้งคู่มีความสามารถในการขับไล่น้ำนั่นเอง ตามหลักการคือน้ำจะระเหยจากผิวของผิวผ้าได้เร็วนั่นเอง ซึ่งในจุดนี้ ไนลอน จะมีการดูดน้ำมากกว่า โพลิเอสเตอร์ นั่นหมายความว่า ผ้าไนลอนนั้น แห้งช้ากว่านั่นเอง การติดสี โพลีเอสเตอร์จะดูดซับสีได้เร็วกว่าไนลอน ซึ่งก็เป็นทั้งเรื่องคุณสมบัติการคายน้ำ และคุณสมบัติด้านอุณหภูมิ ซึ่งโพลีเอสเตอร์นี่คายน้ำได้ดีกว่าจะทำให้สีติดได้รวดเร็วกว่าไนลอน และไนลอนนั้นยังต้องการอุณภูมิในการย้อมมากกว่าโพลีเอสเตอร์อีกด้วย การดูแลรักษา เส้นใยโพลีเอสเตอร์และไนลอนที่ทอหนา ทั้งคู่ต่างมีคุณสมบัติที่ดูแลรักษาง่าย สามารถเข้าเครื่องซัก ปั่นแห้ง แต่ทั้งคู่ก็ไม่ได้ทนต่ออุณหูมิสูงมากนัก โพลิเอสเตอร์ด้วยความที่เนื้อสัมผัสไม่นุ่มเท่าไนลอน อาจจะต้องมีการเสริมน้ำยาปรับผ้านุ่มมากกว่าไนลอน และไนลอนควรจะแยกซักกับผงซักฟอกโดยเฉพาะ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดคราบเหลือง ในการรีดทั้งคู่ไม่ควรใช้อุณหภูมิที่สูงมากนัก คุณสมบัติพิเศษอื่นๆ การเผาไหม้ – ไนลอนละลายหลังจากนั้นจึงติดไฟทันที ส่วนโพลีเอสเตอร์จะละลายและติดไฟพร้อมกัน ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม – ไนลอนส่วนมากเป็นผลผลิตที่เกิดจากการกลั่นน้ำมัน ส่วนโพลิเอสเตอร์ แม้จะย่อยสลายตามธรรมชาติไม่ได้ แต่สามารถนำมารีไซเคิลได้ การกันUV – โพลีเอสเตอร์กันได้ดีกว่า


ซิปไนลอน

รู้หรือไม่ ซิปปัจจุบันทำจากวัสดุอะไร?

ในปัจจบันซิปส่วนมากจะทำมาจาก โพลีเอสเตอร์ ด้วยคุณสมบัติที่มีความคงทน คงตัวมากกว่าไนลอน และด้วยต้นทุนราคาที่ถูกกว่าด้วย เราจึงหันมาใช้โพลีเอสเตอร์แทนไนลอนแทน


แล้วซิปไนลอนของโทริทำมาจากวัสดุชนิดไหน?

ซิปไนลอนของโทริ มีส่วนประกอบเป็น โพลีเอสเตอร์ทั้งหมด แต่สาเหตุที่ยังใช้ชื่อไนลอนเนื่องจากปัจจุบันทางวงการอุตสาหกรรมและการ์เมนต์ในไทยยังคงยึดใช้ชื่อสินค้าคำว่า ‘ซิปไนลอน’ ที่มีพื้นฐานมาจากยุคแรกเริ่มที่ได้มีการค้าขาย ก็จะรู้จักกันในชื่อไนลอนอย่างแพร่หลายและติดหูมาจนถึงในปัจจุบัน แม้ในตอนนี้เทคโนโลยีส่งเสริมให้เรามาใช้เส้นใยโพลีเอสเตอร์ซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีกว่าแทนแล้ว แต่คนก็ยังจำในชื่อของ ซิปไนลอน มากกว่าค่ะ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดด้านซิปต่างๆได้ทางเว็ปไซท์โทริ หรือ อ่านเรื่องราวดีๆเกี่ยวกับซิปได้อีกในเรื่องเล่าจากโทริได้เลยค่ะ

bottom of page